หน้ากากอนามัยทางการแพทย์และหน้ากากอนามัยแบบคาร์บอน คุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร

40 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์และหน้ากากอนามัยแบบคาร์บอน คุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร

หน้ากากอนามัย เป็นสิ่งที่สำคัญมากในยุคปัจจุบันที่ทุกพื้นที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค ฝุ่นละออง และมลพิษต่าง ๆ ที่ผลเสียต่อสุขภาพของเราได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หน้ากากอนามัยเป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ที่เราทุกคนต้องมีไว้สวมใส่แทบจะตลอดเวลาที่ออกนอกบ้าน และยิ่งผู้ที่ต้องทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรม หรือสถานที่ที่ต้องพบเจอกับเชื้อโรคและก๊าซพิษต่าง ๆ เป็นประจำ การสวมใส่หน้ากากอนามัยเป็นวิธีที่จะช่วยปกป้องความปลอดภัยให้กับสุขภาพและระบบทางเดินหายใจได้มากขึ้น


หน้ากากอนามัยทางการแพทย์แบบ 3 ชั้น
ก่อนช่วงโรคระบาดมักเป็นที่นิยมสวมใส่ของเหล่าแพทย์ พยาบาล และตามคลินิคต่าง ๆ ตัววัสดุของหน้ากากอนามัยทางการแพทย์แบบ 3 ชั้นนั้นผลิตมาจากเยื่อกระดาษ มักเห็นแบบประเภทสีเขียว สีฟ้า และอีกมากมายหลายสี หน้ากากอนามัยประเภทนี้ สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ เพราะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และมีรูขนาดเล็ก โดยปกติ 3 – 5 ไมครอนเท่านั้น แต่มีอายุการใช้งานสั้น และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ซ้ำเพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้

เหมาะสำหรับ : บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานหัตถการทางการแพทย์หรือทันตแพทย์ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย คนไข้ พนักงานบริการด้านเสริมความงามต่าง ๆ และบุคคลทั่วไป


หน้ากากอนามัยแบบคาร์บอน
หน้ากากอนามัยประเภทนี้มาจากเส้นใยสังเคราะห์ถึง 4 ชั้น มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองเล็กสุดถึง 3 ไมครอน รวมทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้มากถึง 95% เป็นหน้ากากที่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพคล้ายกับหน้ากากทางการแพทย์ แตกต่างกันตรงที่หน้ากากคาร์บอนจะมีส่วนประกอบพิเศษเป็นชั้นคาร์บอน (Carbon Activated) เหมือนกับในเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยกรองกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ รวมถึงกลิ่นของสารเคมีในอุตสาหกรรมโรงงานหรืองานช่าง เราอาจพบเห็นการใส่หน้ากากคาร์บอน หรือหน้ากากอนามัยสีดำได้ทั่วไป และเช่นเดียวกับหน้ากากทางการแพทย์ การสวมใส่หน้ากากคาร์บอน 2 ชั้นก็จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันที่ดีขึ้น การใช้งานหน้ากากคาร์บอนควรเป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพราะการนำกลับมาซักล้างในแต่ละครั้งจะทำให้ประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นและการดูดซับกลิ่นลดลง

เหมาะสำหรับ : ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์  โลหะ และสิ่งทอ ผู้ที่ทำงานช่างทั้งงานก่อสร้างและงานซ่อมเครื่องยนตร์ที่ต้องเจอกับกลิ่นไม่พึงประสงค์ของสารเคมี ใช้ได้ทั้งในทางการแพทย์ ป้องกันการติดเชื้อ และยังใช้ได้กับบุคคลทั่วไปที่ต้องพบเจอกับฝุ่นควันและมลพิษในสภาพแวดล้อมจำนวนมาก

Powered by MakeWebEasy.com